ปัสสาวะบ่อย อาจเกิดจากการกินน้ำมากไป หลายคนชะล่าใจคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ความจริงแล้วอาจกำลังเผชิญอยู่กับภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ในขณะเดียวกันอาจเป็นอาการนำของโรคร้ายได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ปัสสาวะบ่อยมากในช่วงกลางคืน หรือมีลักษณะปัสสาวะผิดปกติ ควรมารับการตรวจเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

ปัสสาวะบ่อย หรือภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

ปัสสาวะบ่อย หรือภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder – OAB) เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน ที่เกิดจากการรับรู้ของกระเพาะปัสสาวะที่เร็วกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อย ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อยทั้งในตอนกลางวันและกลางคืน ไม่ว่าจะดื่มน้ำในปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม ทำให้เกิดความรำคาญ ขาดความมั่นใจ วิตกกังวล รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน โดยจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย พบได้ตั้งแต่ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานช่วงอายุ 30 – 40 ปี และพบมากในผู้สูงวัยช่วงอายุตั้ง 50 ปีขึ้นไป

การตรวจเช็กภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินสามารถประเมินได้โดยแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งแพทย์จะทำการซักถามและให้ทำแบบประเมินโดยละเอียด ซึ่งจะพิจารณาจาก

  • จำนวนครั้งและปริมาณที่ปัสสาวะใน 1 วัน ตั้งแต่หลังตื่นนอนตอนเช้าถึงก่อนนอนตอนกลางคืน
  • จำนวนครั้งและปริมาณที่ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนนับตั้งแต่นอนหลับถึงตื่นนอนในตอนเช้า
  • จำนวนครั้งที่ปวดปัสสาวะแล้วไม่สามารถกลั้นได้
  • จำนวนครั้งที่ปัสสาวะเล็ดราดในขณะที่ปวดอย่างทันทีทันใดแล้วไม่สามารถกลั้นไว้ได้

นอกจากนี้จะมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจการติดเชื้อ ตรวจปัสสาวะตกค้าง ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะขณะที่มีการเติมน้ำเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยแทรกโรคอื่น ซึ่งการส่งตรวจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ

อาการบอกโรค

อาการที่อาจบ่งบอกว่าเป็นกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อยมากขึ้นกว่าปกติที่เคย หรือไม่ต่ำกว่า 7 ครั้งตอนกลางวัน ไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งตอนกลางคืน
  • ปัสสาวะรีบปวดปัสสาวะมาก ไม่สามารถกลั้นได้ ต้องเข้าห้องน้ำทันที

การตรวจเช็กภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินสามารถประเมินได้โดยแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งแพทย์จะทำการซักถามและให้ทำแบบประเมินโดยละเอียด ซึ่งจะพิจารณาจาก

  • จำนวนครั้งและปริมาณที่ปัสสาวะใน 1 วัน ตั้งแต่หลังตื่นนอนตอนเช้าถึงก่อนนอนตอนกลางคืน
  • จำนวนครั้งและปริมาณที่ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนนับตั้งแต่นอนหลับถึงตื่นนอนในตอนเช้า
  • จำนวนครั้งที่ปวดปัสสาวะแล้วไม่สามารถกลั้นได้
  • จำนวนครั้งที่ปัสสาวะเล็ดราดในขณะที่ปวดอย่างทันทีทันใดแล้วไม่สามารถกลั้นไว้ได้

นอกจากนี้จะมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจการติดเชื้อ ตรวจปัสสาวะตกค้าง ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะขณะที่มีการเติมน้ำเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยแทรกโรคอื่น ซึ่งการส่งตรวจขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เป็นสำคัญ

รักษากระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน

ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินจัดเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนวทางการรักษาแพทย์จะพิจารณาโดยละเอียด มีหลายวิธี ได้แก่

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

  • การจดบันทึกไดอารี่การขับถ่ายปัสสาวะ (Voiding Chart) ใส่รายละเอียดปริมาณน้ำดื่มในแต่ละครั้งและปริมาณน้ำปัสสาวะที่ออกมาแต่ละครั้ง โดยจดบันทึกทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
  • ลดและงดดื่มน้ำ 2 ชั่วโมงก่อนเข้านอน ช่วยป้องกันการตื่นมาปัสสาวะขณะหลับ
  • งดเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ได้แก่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • ในกรณีที่มีการใช้ยารักษาโรคที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนการใช้ยาอย่างเหมาะสม
  • ฝึกควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ (Time Voiding) ช่วยให้กลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น ความถี่ในการเข้าห้องน้ำลดลง โดยจะใช้วิธีกำหนดเวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ เมื่อปวดปัสสาวะให้สนใจนอกห้องก่อน เมื่อความรู้สึกเริ่มหายไปให้ลองกักเวลาแล้วจดมาว่าปัสสาวะทุกกี่นาทีหรือกี่ชั่วโมงแล้วลองยืดเวลาปัสสาวะออกไป หากปัสสาวะไม่สุดให้นั่งรอในห้องน้ำแล้วปัสสาวะอีกครั้ง ซึ่งการฝึกขับถ่ายปัสสาวะจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เฉพาะทาง

2. การใช้ยารับประทาน 

ยาที่ใช้รักษาภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินจะมีผลในการลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น ความถี่ในการปัสสาวะลดลง และเพิ่มความจุของกระเพาะปัสสาวะ โดยจะต้องมีการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางและต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่กันไป ปัจจุบันการใช้ยารับประทานได้รับความนิยมมากเพราะผลข้างเคียงน้อย

3. ฉีดยาโบทูลินัมท็อกซิน 

การฉีดยาโบทูลินัมท็อกซิน (Botulinum Toxin) เข้ากล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะผ่านการส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยดื้อยาหรือไม่ตอบสนองต่อยาที่รับประทาน ซึ่งวิธีนี้ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการฉีดซ้ำ รวมถึงอาจมีผลข้างเคียงคือ ปัสสาวะลำบาก  ปัสสาวะไม่ออกหรือออกไม่หมด จำเป็นจะต้องสวนปัสสาวะทิ้งด้วยตนเอง

4. กระตุ้นเส้นประสาทควบคุมระบบทางเดินปัสสาวะ

วิธีนี้จะใช้กระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ โดยมีทั้งวิธีการรักษาแบบชั่วคราวและแบบถาวร จำเป็นต้องทำการรักษากับแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญเท่านั้น

5. ผ่าตัดเพื่อขยายกระเพาะปัสสาวะ 

หากผู้ป่วยทำการรักษาทุกวิธีแล้วยังไม่เห็นผลอาจจำเป็นจะต้องผ่าตัดเพื่อขยายกระเพาะปัสสาวะเพื่อให้เก็บปริมาณปัสสาวะได้มากขึ้น วิธีนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ได้แก่ ปัสสาวะออกไม่แรง ปัสสาวะออกไม่หมด ปัสสาวะมีตะกอน เพิ่มโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอย่างละเอียด

ปัสสาวะบ่อย

กระเพาะปัสสาวะอักเสบฉับพลัน (Acute Cystitis)

     เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบ เช่น การกลั้นปัสสาวะ เป็นปัจจัยที่พบบ่อยของการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ บางคนที่กลั้นปัสสาวะเพราะเห็นว่าห้องน้ำไม่สะอาด มีโอกาสเกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้

อาการ
ปวดท้องน้อย ปัสสาวะไม่สุด ปวดปัสสาวะบ่อยแต่ปัสสาวะได้ครั้งละเล็กน้อย กดที่หน้าท้องจะเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มหรือมีสีแดงคล้ายเลือดปนออกมา

ปัจจัยเสี่ยง 

  • ผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ท่อปัสสาวะ ตีบ ,นิ่ว หรือเนื้องอกในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ช่องคลอดจะแห้ง เชื้อแบคทีเรียจะกระจายไปสู่ท่อปัสสาวะได้ง่าย
  • การมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ทำให้เชื้อโรคกระจายเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น
  • คนที่เคยมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบแล้วมีโอกาสเป็นได้อีกบ่อยๆ แต่ไม่ควรมากกว่า 2 ครั้ง ในเวลา 6 เดือน หรือ มากกว่า 3 ครั้งต่อปี

คำแนะนำในการดูแลไม่ให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม 6 -10 แก้ว แล้วแต่ความต้องการของร่างกายของแต่ละคน
  • ห้ามกลั้นปัสสาวะ ถ้าต้องเดินทางเป็นเวลานานไม่ควรดื่มน้ำมาก ทำให้ต้องกลั้นนปัสสาวะนานๆ ซึ่ง  เสี่ยงต่อการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • ปัสสาวะหลังมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง
  • ถ้ามีอาการเพียงเล็กน้อยให้ดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นร่างกายก็จะกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้เอง

ปัสสาวะบ่อยแค่ไหนถึงเรียกว่าผิดปกติ 

สังเกตได้ง่ายๆ โดยปกติภายใน 24 ชั่วโมง คนเราจะปัสสาวะอย่างน้อย 6-8 ครั้ง กลางคืนเราจะปัสสาวะเพียง 1-2 ครั้งแต่ถ้าหากมากกว่านี้ โดยเฉพาะถ้าช่วงกลางคืนปัสสาวะมากมักบ่งชี้ถึงโรคบางอย่างมากกว่า ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางวัน เพราะในช่วงกลางวัน มักเกิดจากการดื่มน้ำมาก  ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีนมากเกินไป ซึ่งถ้าไม่มีสาเหตุที่กล่าวมาควรมาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

โรคที่เป็นสาเหตุของปัสสาวะบ่อย

  • โรคเบาหวาน การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้เกิดอาการปัสสาวะบ่อยอ่อนเพลีย น้ำหนักลด
  • โรคต่อมไร้ท่อผิดปกติเช่นโรคเบาจืด โรคคุชชิง(Cushing syndromes)
  • โรคระบบทางเดินปัสสาวะทั้งกระเพาะปัสสาวะอักเสบและกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน(overactive bladder)
  • ภาวะตั้งครรภ์ มดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะกดกระเพาะปัสสาวะทำให้ความจุน้อยลงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
  • โรคทางระบบสืบพันธุ์ เช่นเนื้องอกมดลูกหรือรังไข่ ที่โตเบียดกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโตในผู้ชายทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อยได้อาจมีอาการร่วมคือปัสสาวะลำบากต้องเบ่งและคอยนานกว่าปัสสาวะจะออกมา
  • ภาวะทางจิตใจ (psychogenic polydipsia)ทำให้ดื่มน้ำมากกว่าปกติจึงทำให้ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ยาหรือสารบางชนิดเช่น ยาขับปัสสาวะ คาเฟอีนแอลกอฮอล์ มีผลทำให้ปัสสาวะบ่อยได้
  • โรคไตเรื้อรัง การทำงานของไตที่เสื่อมลงอาจจะทำให้มีปัสสาวะตอนกลางคืนได้บ่อย

ปัสสาวะบ่อย

ปัสสาวะบ่อยในผู้ชายเสี่ยงเป็นโรคต่อมลูกหมากโต

ไม่ใช่เพียงผู้หญิงเท่านั้นที่ต้องดูแลใส่ใจเรื่องการปัสสาวะ แต่ในยุคสมัยนี้แล้วคุณผู้ชายต้องหันมาดูแลใส่ใจด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่มีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะลำบาก คุณอาจตกอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่โรคต่อมลูกหมากโตได้ โรคต่อมลูกหมากโตเกิดจากหลายปัจจัย

1. เป็นเรื่องเกี่ยวกับอายุ ซึ่งพอผู้ชายอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ต่อมลูกหมากจะค่อยๆ โตขึ้น และเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีอาการของต่อมลูกหมากโต

2. พันธุกรรม

3. ฮอร์โมนเพศชาย ที่เราเรียกว่า Dihydrotestosteroneซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีผลต่อต่อมลูกหมาก เป็นอาหารที่มาเลี้ยงต่อมลูกหมาก ส่งผลให้ต่อมลูกหมากโตขึ้น พอเมื่อโตขึ้นแล้วก็จะไปกดที่ท่อปัสสาวะ ทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อย และทำให้ปัสสาวะลำบาก

ทั้งนี้สัญญาณที่บอกว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่คือ เวลาปัสสาวะไม่พุ่ง ปัสสาวะไม่แรง หรือปัสสาวะต้องใช้แรงเบ่งมากขึ้น ปัสสาวะแล้วไม่หมดบางครั้งปัสสาวะเสร็จแล้วมีน้ำปัสสาวะหยดตามออกมาทำให้เปรอะเปื้อนได้ อันนี้เป็นส่วนของภาวะอุดกั้น ส่วนอีกภาวะหนึ่งเรียกว่า Irritative Symptoms หรือเรียกว่า ภาวะการระคายเคือง ในส่วนนี้พอต่อมลูกหมากที่ไปอุดกั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีการบีบตัวมากขึ้น ส่งผลให้คนไข้ปัสสาวะบ่อย หรือบางทีมีปัสสาวะแล้วแสบขัด หรือปัสสาวะบ่อยมากช่วงกลางคืน หรือบางคนกั้นปัสสาวะไม่อยู่ เช่น เวลาปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที เป็นอาการที่บ่งชี้ว่าอาจจะเป็นต่อมลูกหมากโต

สำหรับขั้นตอนการรักษา

ถ้าคนไข้ยังมีอาการที่ไม่มาก แพทย์จะให้คนไข้ปรับเปลี่ยน Life Style หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไข้ได้ ส่วนกลุ่มคนไข้ที่มีอาการปานกลาง ถึงขั้นรุนแรง แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาอันดับแรก แต่ถ้าคนไข้ที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ตอบสนอง คนไข้อาจได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตมีด้วยกัน 2 วิธี คือ

1. เป็นวิธีดั้งเดิมที่มีการผ่าตัดทางหน้าท้อง เพื่อที่จะเอาเนื้อต่อมลูกหมากที่อุดกั้นท่อปัสสาวะออก ทำให้คนไข้ปัสสาวะได้ดีขึ้น

2. ผ่าตัดด้วยวิธีส่องกล้อง ซึ่งปัจจุบันส่วนใหญ่จะใช้วิธีทางส่องกล้องมากกว่า ซึ่งในกรณีนี้คนไข้จะถูกบล็อกหลังหรือดมยาสลบ เพื่อที่จะส่องกล้องเข้าไปที่ท่อปัสสาวะ ไปจนถึงต่อมลูกหมาก พอไปถึงต่อมลูกหมากแล้วแพทย์จะใช้วิธีการคว้านหรือจี้ด้วยไฟฟ้าทำให้เนื้อต่อมลูกหมากที่อุดกั้นของท่อปัสสาวะโล่งขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้ดีขึ้นก็จะปัสสาวะได้ดีขึ้น

ปัสสาวะบ่อยแบบไหนที่ต้องมาพบแพทย์

เมื่อมีอาการปัสสาวะบ่อยจนรู้สึกว่าผิดปกติหรือรบกวนชีวิตประจำวัน หรือมีอาการร่วมต่างๆ ดังนี้

  • ปัสสาวะมีเลือดปนหรือปัสสาวะขุ่น
  • ปัสสาวะมีสีแดง หรือสีน้ำตาลเข้ม
  • มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ
  • มีอาการเจ็บปวดที่บริเวณท้องน้อย หรือมีก้อนที่ท้องน้อย
  • ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะไม่ออกต้องเบ่ง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • มีไข้ร่วมด้วย

 

หากมีอาการปัสสาวะบ่อย โดยที่ไม่ได้ดื่มน้ำ หรือไม่ได้บริโภคคาเฟอีน และแอลกอฮอล์มากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อยจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการนอนหลับ และมีอาการอื่นๆ ที่เป็นสัญญาณอันตราย เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด มีอาการเจ็บขณะปัสสาวะ มีปัญหาเกี่ยวกับการกลั้นปัสสาวะ มีไข้ เป็นต้น ควรพบแพทย์ทันที

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  hamptoninnjohnsoncity.com

สนับสนุนโดย  ufabet369