ยีราฟ

ค้นพบ ญาติยุคดึกดำบรรพ์ของยีราฟ มีคอสั้น และมีกะโหลกทรงหมวกกันน็อค ไว้ต่อสู้

ในประเทศจีน ได้มีทีมนักบรรพชีวินวิทยา ได้ออกมาเผยถึงผลวิเคราะห์ของ ซากฟอสซิล ที่มีอายุเก่าแก่ประมาณ 17 ล้านปีก่อน ซึ่งได้ทำการค้นพบที่ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน นั้นก็คือ Junggar Basin หรือแอ่งจุงการ์ เมื่อปี 1996 โดยทั้งนี้ ได้ค้นพบว่า มันคือสัตว์ในตระกูลยีราฟ ที่ได้มีการสูญพันธุ์ไปแล้ว อีกทั้งยังมี มีลำคอสั้น ตัวเล็กเท่าแกะ มีกะโหลกทรงหมวกกันน็อค

“เซี่ยจื้อ” สัตว์วิเศษคล้ายแพะ และมีเขาเดียว ในเทพนิยายของจีนโบราณ ถูกเอามาอ้างอิงในการตั้งชื่อว่า Discokeryx xiezhi จากทีมผู้วิจัย โดยงานวิจัยชิ้นนี้ ได้ระบุหลักฐานชี้ให้เห็นถึงสาเหตุ หลังการวิวัฒนาการ ของลำคอยาวในยีราฟ ว่าไม่ได้พัฒนาเพื่อความได้เปรียบ ในการเข้าถึงอาหารอย่างเดียวเท่านั้น

พฤติกรรมดังกล่าวไม่ต่างจากญาติยุคดึกดำบรรพ์ของมัน แต่ Discokeryx xiezhi ซึ่งมีลำคอสั้น ใช้กะโหลกส่วนบนที่หนากว่า 1 นิ้ว และอวัยวะคล้ายเขารูปทรงจานแบนที่อยู่ตรงบริเวณดังกล่าว พุ่งเข้าชนคู่ต่อสู้เหมือนแพะใช้หัวชนปะทะกัน นอกจากนี้ทีมผู้วิจัยยังพบว่า ส่วนฐานของกะโหลกศีรษะและกระดูกคอของมัน ยังถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับแรงกระแทกได้สูงอีกด้วย

ยีราฟ
อย่างไรก็ตามในสมัยไมโอซีน (Miocene) ที่ Discokeryx xiezhi ยังมีชีวิตอยู่

พื้นที่เขตซินเจียงของจีนเป็นทุ่งหญ้าโล่งกว้างที่แทบจะไม่มีต้นไม้ใหญ่เลย ทั้งการยกตัวของที่ราบสูงทิเบตในยุคนั้นก็ทำให้สภาพอากาศแห้งแล้งขึ้นด้วย ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อการดำรงเผ่าพันธุ์และเป็นแรงผลักให้เกิดวิวัฒนาการได้อย่างมาก ไม่ต่างจากตอนที่ยีราฟสายพันธุ์ปัจจุบันถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 7 ล้านปีก่อน

ขณะที่ภูมิอากาศของที่ราบสูงแอฟริกาตะวันออก กำลังเปลี่ยนป่าทึบ ให้เป็นทุ่งหญ้าโล่งกว้างเช่นกัน “ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้สัตว์ตระกูลยีราฟเกิดวิวัฒนาการความยาวของลำคอ แบบเกิดขึ้นโดยตรงกับแต่ละสายพันธุ์ในแต่ละยุคสมัย และด้วยเหตุที่มัน ไม่ใช่วิวัฒนาการแบบต่อเนื่องค่อยเป็นค่อยไป เราจึงค้นหาฟอสซิลของยีราฟที่มีความยาวลำคอปานกลางไม่เจอเสียที” ทีมผู้วิจัยกล่าวสรุป

นักวิทยาศาสตร์ระบุฟอสซิลในจีนเป็นแรดยักษ์สายพันธุ์ใหม่ที่ “สูงกว่ายีราฟ” นักวิจัยระบุว่า แรดยักษ์โบราณสัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบ อยู่ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่อยู่บนบก มันถูกค้นพบทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน Paraceratherium linxiaense ซึ่งมีชีวิตอยู่ราว 26.5 ล้านปีก่อน มีน้ำหนักตัว 21 ตัน เทียบเท่ากับช้างแอฟริกาขนาดใหญ่ 4 ตัว

หัวของสัตว์ที่ไม่มีนอตัวนี้อาจเล็มยอดไม้ที่สูงถึง 7 เมตรได้ ทำให้มันมีความสูงมากกว่ายีราฟ การค้นพบใหม่นี้ได้ข้อสรุปมาจากซากฟอสซิลที่ค้นพบในมณฑลกานซู่ของจีน ในการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสาร Communications Biology เมื่อวันพฤหัสบดี (17 มิ.ย.) ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การวิเคราะห์ฟอสซิลที่พบใกล้กับหมู่บ้านหวังเจียชวนในปี 2015

บ่งชี้ว่าเป็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ที่ต่างไปจากแรดยักษ์สายพันธุ์อื่นๆ ที่มีการค้นพบแล้ว การศึกษาที่นำโดย ดร.เติ้ง เทา จากสถาบันการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ สัตว์มีกระดูกสันหลังและการศึกษาทางบรรพมานุษยวิทยา (Institute of Vertebrate Paleontology and Paleoanthropology) ในกรุงปักกิ่งของจีน ได้ยกตัวอย่าง กะโหลกและกระดูกขากรรไกร ที่มีการเก็บรักษาไว้อย่างสมบูรณ์

ซึ่งบ่งชี้ว่า สัตว์ชนิดนี้มีลักษณะกะโหลกเรียวยาว รวมถึงจมูกที่เป็นงวงใช้จับสิ่งของได้คล้ายกับจมูกของสมเสร็จในปัจจุบัน คณะนักวิทยาศาสตร์ยังค้นพบด้วยว่า สัตว์สายพันธุ์ใหม่นี้มีความเกี่ยวข้องกับแรดยักษ์ที่เคยมีชีวิตอยู่ในปากีสถานอย่างใกล้ชิด ซึ่งบ่งชี้ว่า มันเคยเดินทางข้ามเอเชียกลางมาแล้ว

ถ้ามันพเนจรได้อย่างอิสระระหว่างภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนและอนุทวีปอินเดียปากีสถาน ก็หมายความที่ราบสูงทิเบตน่าจะยังเป็นพื้นที่ราบลุ่มอยู่ในสมัยนั้น “สภาพความร้อนทำให้แรดยักษ์ต้องกลับขึ้นไปทางเหนือของเอเชียกลาง ตีความได้ว่า ภูมิภาคทิเบตยังคงไม่ได้ยกตัวสูงขึ้นเป็นที่ราบสูง” ศ.เติ้ง ระบุ

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : hamptoninnjohnsoncity.com